Tuesday, November 20, 2007

ต้นหูกวาง

ชื่อทั่วไป - หูกวาง

ชื่อสามัญ - Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond

ชื่อวิทยาศาสตร์ - Terminalia catappa L.

วงศ์ - COMBRETACEAE ชื่ออื่นๆ - โคน ดัดมือ ตัดมือ , ตาปัง , ตาแปห์ , หูกวาง , หลุมปัง

ถิ่นกำเนิด - ป่าชายหาด ตามโขดหินริมทะเล

ประเภท - ไม้ยืนต้น

รูปร่างลักษณะ - ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ - ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร - ดอก เล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน - ผล รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7เซนติเมตร

การขยายพันธ์ - ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม - ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป

ประโยชน์ - เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผล รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์


ข้อมูลจากhttp://www.geocities.com/m4217_m/pa20.htm